ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เอกชนยังคงคาดหวังว่าการจัดตั้งรัฐบาลหรือมีคณะรัฐมนตรี(ครม.) ช้าสุดไม่เกินเดือนสิงหาคมนี้
โดยหวังว่าการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีจะเป็นไปอย่างราบรื่น แม้ว่าจะมีกระแสข่าวลือต่าง ๆ นานา อยากให้ทุกฝ่ายคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก
หวังให้มีบทสรุปเพื่อประเทศจะได้เดินหน้าต่อ อยากให้โหวตครั้งเดียวผ่าน ถ้าครั้งเดียวไม่ผ่านก็ควรเสร็จสิ้นในครั้งที่ 2 ไม่อยากให้มีครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 เพราะทุกครั้งคือต้นทุนของประเทศ นอกจากเสียเงินแล้วยังเสียภาพลักษณ์ เสียโอกาส ซึ่งประเมินมูลค่าไม่ได้
หลังจากนี้คือการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งหวังว่าจะเห็นทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่น ได้เห็นหน้าตานายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ภายในเดือนสิงหาคม นี้ ย้ำว่าตอนนี้เรามีความท้าทายจากภายนอกมากพออยู่แล้ว อยากเห็นภายในแข็งแกร่ง
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ (ส.อ.ท.)
นายเกรียงไกร กล่าวด้วยว่า หากจัดตั้งรัฐบาลได้เร็ว ก็จะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านงบประมาณต่างๆที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่หากการจัดตั้งยิ่งช้าออกไปเท่าใดก็จะยิ่งกระทบเศรษฐกิจ รวมไปถึงความเชื่อมั่นต่อการลงทุน โดยเฉพาะตอนนี้ทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติกำลังชะลอรอความชัดเจน
หากการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้าอาจทำให้นักลงทุนย้ายแผนการลงทุนไปประเทศอื่น จึงต้องรีบมีรัฐบาลตัวจริงมาขับเคลื่อนประเทศ และไม่อยากให้เกิดภาพการชุมนุมประท้วง เพราะช่วงปลายปีเป็นช่วงสำคัญของภาคการท่องเที่ยว หากเกิดการประท้วงจะทำให้บรรยากาศการเดินทางของนักท่องเที่ยวเสียไปด้วย
เศรษฐกิจไทยชะลอแม้ท่องเที่ยวฟื้น ไตรมาส 3 แนวโน้มดอกเบี้ยยังขึ้นอีก
เอกชนจับตาเลือกนายกฯ ได้รัฐบาลเร็ว ไร้ชุมนุมเศรษฐกิจยิ่งฟื้นเร็ว
ด้าน นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย และประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า คาดหวังให้การจัดตั้งรัฐบาลใหม่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ราบรื่น เพื่อเร่งดำเนินการจัดทำงบประมาณ กระตุ้นการใช้จ่ายการลงทุน
กกรคำพูดจาก รวมเว็บ PG Slot. ยังคงประมาณการการเติบโตของจีดีพี ปี 2566 โต 3% ถึง 3.5% แต่ปรับตัวเลขการส่งออกลดลงจากเดิม -1% ถึง 0% เป็นลบ 2% ถึง 0% และปรับเงินเฟ้อจากเดิม 2.7% ถึง 3.2% เป็น 2.2% ถึง2.7% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอลงมากในช่วงครึ่งปีหลัง
โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตหลักๆ มาจากการท่องเที่ยวที่คาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะขึ้นไปถึง 29-30 ล้านคน ประกอบกับการบริโภคภาคเอกชนถูกกดดันจากค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนในระดับสูงที่ 90.6% ต่อGDP ทำให้ผู้บริโภคมีข้อจำกัดและระวังการใช้จ่าย
ขณะเดียวกัน กกร.มีความกังวลภาระต้นทุนของผู้ประกอบการที่อยู่ระดับสูงมาต่อเนื่องโดยเฉพาะค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(Ft) ที่ผ่านมา ล่าสุดคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)เตรียมที่จะพิจารณาประกาศในงวดใหม่(ก.ย.-ธ.ค.66) ที่เห็นว่าปัจจัยในการนำมาคำนวณมีทิศทางเป็นบวกที่จะทำให้ค่าไฟลดลงได้กว่า 10% จากงวด พ.ค.-ส.ค.66
และคาดว่าไม่ควรเกิน 4.25 บาทต่อหน่วยจากขณะนี้ค่าไฟเฉลี่ย 4.70 บาทต่อหน่วย เช่น ก๊าซอ่าวไทยจากแห่งเอราวัณทยอยเพิ่มขึ้นจาก 200 เป็น 600 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในช่วงปลายปี การนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG)ลดลง ราคา LNG ลดมากกว่า 30% ราคาพลังงานโลกลดลง และหนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ทั้งงวด 1-2 ลดลงเร็วกว่าแผน เป็นต้น