ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 จากสัญญาณอุปทานตึงตัว และทางการจีนเตรียมประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ช่วยหนุนความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ เพิ่มขึ้น 25 เซ็นต์ หรือ 0.3% เคลื่อนไหวที่ระดับ 82.99 ดอลลาร์ต่อบาร์เรน ส่วนน้ำมันดิบ WTI ตลาดนิวยอร์ก เพิ่มขึ้น 27 เซ็นต์ เคลื่อนไหวที่ 79.01 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 จากการลดกำลังการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน
ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent เฉลี่ยสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 ก.ค. 2566 ลดลง 0.03 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ 79.66 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตาม ราคาปิดวันที่ 21 ก.ค. 2566 อยู่ที่ 81.07 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล กลับมาเหนือระดับ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เป็นครั้งแรกในรอบ 6 วัน จากสถานการณ์สงครามยูเครนและรัสเซียตึงเครียดอาจก่อให้เกิดวิกฤตอาหารทั่วโลก
รีบแวะเติม พรุ่งนี้ โออาร์-บางจาก ขึ้นเบนซิน 40 สต. ตลาดโลกพุ่งไม่หยุด
เฟดเริ่มประชุมพรุ่งนี้ คาดรอบนี้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25%
ล่าสุด วันที่ 17 ก.ค. 2566 รัสเซียไม่ต่ออายุข้อตกลงรับรองความปลอดภัยให้ยูเครนส่งออกธัญพืชในทะเลดํา (Black Sea Grain Deal) และโจมตีท่าเรือและคลังเก็บธัญพืชของยูเครนอย่างต่อเนื่อง ทำให้อุปทานธัญพืชชะงักงันและส่งผลให้อุปทาน Ethanol และ Biodiesel ขณะที่รัสเซียเตือนว่าไม่รับประกันความปลอดภัยของเรือสินค้าที่แล่นผ่านทะเลดำเข้ายูเครนทุกลำโดยถือว่าเป็นเป้าหมายที่อาจขนส่งยุทโธปกรณ์ทางทหาร เหตุข้างต้นเป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศผ่านทะเลดำ
ภาพรวมด้านปัจจัยพื้นฐาน มีแรงหนุนจากภาวะตึงตัวตามมาตรการของ OPEC+ ซึ่ง Bloomberg รายงานปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบและคอนเดนเสทของรัสเซีย (ผ่านทางท่อและทางเรือ) ในเดือน มิ.ย. 2566 ลดลง 3 แสนบาร์เรลต่อวันจากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 4.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย นาย Alexander Novak ประกาศว่ารัสเซียจะลดปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบ 5 แสนบาร์เรลต่อวันในเดือน ส.ค. 2566
ในสัปดาห์นี้คาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวในกรอบ 78-85 ดอลลสาร์ต่อบาร์เรล โดยนักลงทุนติดตามการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) และธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank: ECB) ในสัปดาห์นี้
นักวิเคราะห์คาดว่า Fed และ ECB จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เนื่องจากยังไม่บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อซึ่งปัจจุบันยังคงอยู่สูงกว่าเพดานที่ 2% จากปีก่อนหน้า
อนึ่ง ดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐฯ (Consumer Price Index: CPI) ในเดือน มิ.ย. 2566 อยู่ที่ 3.0% จากปีก่อนหน้า ต่ำสุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 2564 และของยูโรโซน (Harmonised Index of Consumer Prices: HICP) ในเดือน มิ.ย. 2566 อยู่ที่ 5.5% จากปีก่อนหน้า ต่ำสุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 2565
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
- หน่วยงานศุลกากรของจีน (General Administration of Customs: GAC) รายงานปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบในเดือน มิ.ย. 2566 เพิ่มขึ้น 4.6% จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 12.72 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยนำเข้าจากรัสเซียเพิ่มขึ้น 9.71% จากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 2.57 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดเป็นประวัติการณ์
- เกิดคลื่นความร้อนในยุโรป โดยเฉพาะอิตาลี สเปน ฝรั่งเศส เยอรมนี และโปแลนด์ ซึ่งมีแนวโน้มผลักดันให้ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ล่าสุด The Guardian รายงานอุณหภูมิในเมือง Rome, Florence และ Bologna ของอิตาลี สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส
- Baker Hughes Inc. รายงานจำนวน Rig ขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 ก.ค. 2566 ลดลง 7 แท่น จากสัปดาห์ก่อนหน้า อยู่ที่ 530 แท่น ต่ำสุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 2565
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
- JP Morgan ปรับลดคาดการณ์ GDP ของจีน ในปี 2566 อยู่ที่ 5.0% จากปีก่อนหน้า (คาดการณ์ครั้งก่อนที่ 5.5% จากปีก่อนหน้า)
- สำนักข่าวรัสเซีย TASS รายงานเวเนซุเอลามีแผนเพิ่มการผลิตน้ำมันดิบสู่ระดับ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในปี 2566 โดยจะส่งออกราว 60% ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ทั้งนี้ OPEC รายงาน เวเนซุเอลาผลิตน้ำมันดิบในเดือน มิ.ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 2566 อยู่ที่ 0.77 ล้านบาร์เรลต่อวัน