วันที่ 20 ส.ค. 2566 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “เรื่องวุ่น ๆ ของพรรคเพื่อไทย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-17 ส.ค. 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับเรื่องวุ่น ๆ ของพรรคเพื่อไทย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง
“ปิยบุตร” แนะก้าวไกล ประกาศจุดยืนเป็นฝ่ายค้าน ไม่ต้องเล่นเกมชักเย่อ-ไม่ต้องเจรจา
“อนุสรณ์” ลั่น "หมอชลน่าน"ลาออกแน่! แต่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงการเลือกพรรคเพื่อไทยตั้งแต่มีสิทธิเลือกตั้ง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 39.62 ระบุว่า ไม่เคยเลือกพรรคเพื่อไทย (หรือพรรคไทยรักไทย หรือพรรคพลังประชาชน) รองลงมา ร้อยละ 33.13 ระบุว่า เคยเลือก รวมถึงในการเลือกตั้งเมื่อ 14 พ.คคำพูดจาก เว็บตรง. 2566 ร้อยละ 26.72 ระบุว่า เคยเลือก แต่ไม่ได้เลือกในการเลือกตั้งเมื่อ 14 พ.ค. 2566 และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ยังไม่เคยไปเลือกตั้งเลย
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดตั้งรัฐบาลพิเศษ “สลายขั้ว” ของพรรคเพื่อไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 47.71 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 19.47 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 16.79 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 15.11 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และร้อยละ 0.92 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อบุคคลที่เหมาะสมจะเป็นนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 38.63 ระบุว่าเป็น นางสาวแพทองธาร ชินวัตร รองลงมา ร้อยละ 36.56 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน ร้อยละ 8.47 ระบุว่าเป็น นายชัยเกษม นิติสิริและร้อยละ 16.34 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อความสัมพันธ์ระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกลในขณะนี้ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.85 ระบุว่า เป็นคู่แข่งทางการเมืองที่สำคัญต่อกัน รองลงมา ร้อยละ 27.33 ระบุว่า เป็นแค่คนรู้จักกัน ร้อยละ 20.99 ระบุว่า เป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน และร้อยละ 1.83 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจเมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง