คาด กนง.คงดอกเบี้ย 2.5% ยาวตลอดปี 67 กดเงินเฟ้อเข้ากรอบเป้าหมาย
กนง.ไขข้อสงสัย ทำไมหั่นจีดีพีไทย – แรงหนุนดิจิทัลวอลเล็ตมีแค่ไหน?
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทแข็งค่าแตะระดับมากสุดในรอบ 4 เดือน ที่ 34.58 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนจะกลับมาทยอยอ่อนค่าลงช่วงปลายสัปดาห์
โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ หลังจากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด (Fed) เริ่มสะท้อนท่าทียอมรับว่า วัฎจักรอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐฯ อาจจะสิ้นสุดไปแล้ว
ทั้งนี้เงินดอลลาร์ฯ ยังมีปัจจัยกดดันจากการปรับตัวลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของสหรัฐฯ หรือ บอนด์ยีลด์ และตัวเลขยอดขายบ้านใหม่เดือน ต.ค. ของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลงมากกว่าคาด
อย่างไรก็ตาม เงินบาทได้อ่อนค่ากลับมาบางส่วน ภายหลังคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับลดประมาณการจีดีพี (GDP) ไทยในปี 2566-2567 ในการประชุมวันที่ 29 พ.ย.66 ที่ผ่านมา รวมถึงมีปัจจัยลบเพิ่มเติมจากการกลับมาขายสุทธิพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ท่ามกลางเงินดอลลาร์ฯ ที่ฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย หลังเจ้าหน้าที่เฟดหลายรายส่งสัญญาณว่า เฟดยังไม่มีการพิจารณาเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงในปีหน้า
ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ 1 ธ.ค.66 ที่ผ่านมา เงินบาทปิดตลาดอยู่ที่ 34.86 บาทต่อดอลลาร์ฯ แข็งค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินเงินบาทสัปดาห์หน้า ระหว่างวันที่ 4-8 ธ.ค. 2566 คาดกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 34.50-35.50 บาทต่อดอลลาร์ฯ ปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ย. ของไทย สัญญาณเงินทุนต่างชาติ ข้อมูลตลาดแรงงานเดือนพ.ย. ของสหรัฐฯ ตลอดจนข้อมูล PMI ภาคบริการเดือนพ.ย. ของสหรัฐฯ จีน อังกฤษและยูโรโซนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง